วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ขอขอบพระคุณ ท่านคณะกรรมการบริหารและ สถาบันการเงิน
กระผม ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ขอขอบพระคุณ ท่านคณะกรรมการบริหารและ สถาบันการเงิน ยูโอบี ที่ได้ให้การสนับสนุน กิจการโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน ของ ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี และบริษัท ในเครือ ฯทุกๆบริษัทฯของกระผม ทั้งในด้านการเงินและรับรองการเงิน วัตถุประสงค์ในการออกตราสาร PN ( PROMISSORY NOTE) ทั้ง 2 ฉบับนี้ เพื่อการฟื้นฟู กิจการในบริษัทต่อธนาคารฯ และเพื่อการลงทุนในธุรกิจประการเดิมบริษัทเป็นผู้ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกและขยายในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เท่าที่มีประสบการณ์ มีผลงานในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากด้วยประสบการณ์ ดำเนินการพัฒนาธุรกิจ
จึงเรียนมาเพื่อขอขอบคุณมาณะที่นี้ครับ
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี
กรรมการบริหารกิจการผู้สูงอายุ D-HOUSE GROUP พร้อมทั้งบริษัทฯในเครือ นโยบายการพัฒนาบุคลากรในส่วนงานการบริหาร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ทานบารมี คือ การให้ การบริจาค ในคัมภีร์พุทธศาสนาได้จารึกเอาไว้ว่า การสร้างทานบารมีเป็นสิ่งแรกๆ ที่มนุษย์พึงควรปฏิบัติ แต่ทว่าคำว่าการให้ทานนั้นต้องให้ด้วยปัญญา ไม่ได้ให้ด้วยความรู้สึกเพียงว่าแค่อยากให้
ตอบลบท่านพระมหาวุฒิชัย หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี ท่านเป็นปราชญ์ยุคใหม่ เคยกล่าวเอาไว้ว่า “มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ” นอกจากมือแล้วยังเชื่ออีกว่า ใจของผู้ให้นั้นย่อมประเสริฐกว่าเช่นกัน ใครที่ไม่เคยคิดจะให้อะไรกับใครเลยถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่คบยาก
ในการให้นั้น เมื่อให้แล้ว “มือที่ปล่อยวัตถุที่ให้ไป ใจของผู้ให้ควรปล่อยตาม” แล้วทานนั้นจะมีอานิสงส์มาก ซึ่งตลอดชีวิตผมเชื่อแบบนี้มาโดยตลอด
นอกจากนี้ ในตำรายังกล่าวว่า ผู้ให้ทานมักจะไม่ลำบากยากจน และยังเป็นกุศลที่ข้ามภพชาติอีกด้วย เมื่อเขียนแบบนี้หลายคนที่มีแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์อาจจะไม่ค่อยเชื่อ เพราะมองว่าพิสูจน์ไม่ได้ แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้พิสูจน์ได้
มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก หรือ บิล เกตส์ เจ้าของซอฟต์แวร์ชื่อดัง เหล่านี้ร่ำรวยและไม่ได้นับถือพุทธศาสนา แล้วทำไมร่ำรวย ถ้าหากบอกว่า อดีตชาติเขาทำทานมามาก ก็ย่อมเกิดคำถามอีกว่าเอาอะไรมาพิสูจน์
การพิสูจน์ก็ต้องดูการกระทำในปัจจุบัน เพราะคำสอนในทางพุทธนั้นบอกแล้วว่า สิ่งเหล่านี้ติดจิตวิญญาณข้ามภพชาติไป ทั้งสองคนปัจจุบันก็มุ่งทำทานอย่างมากมายผ่านระบบมูลนิธิของตนเอง ตามที่เป็นข่าวใหญ่โต อย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก สละหุ้นในเฟซบุ๊กของตัวเองให้เป็นทุนการศึกษาสำหรับคนด้อยโอกาสทั่วโลก บิล เกตส์ ก็คล้ายๆ กัน
นิสัยของการเป็นผู้ให้นั้น ติดข้ามภพชาติอย่างแท้จริง จึงทำให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีฐานะดี มีเงินทอง ในเมืองไทยเองลองสังเกตดู คนที่มีทรัพย์มากๆ เวลาเราไปบอกงานบุญงานกุศลไม่มีใครปฏิเสธเลยสักคน แต่จะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของผู้บอกบุญและความสำคัญของงานบุญนั้นๆ นี่ก็เป็นนิสัยอย่างหนึ่งเช่นกัน...
“ยิ่งให้ ยิ่งได้” จึงไม่ใช่เป็นแค่เพียงความเชื่อแต่เป็นความจริง เพียงแต่หลักการในการให้ ตามคำสอนนั้นก็มีการบันทึกเอาไว้ว่า การให้แล้วถือว่าเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่นั้น ต้องมีที่มาที่สะอาดและถูกต้อง ประกอบไปด้วยที่มาของวัตถุทานนั้นต้องซื้อหามาด้วยเงินที่บริสุทธิ์ ความคิดจิตใจก่อนถวายทาน ขณะที่ถวายทานและหลังถวายทาน ต้องแจ่มใสเป็นกุศล ยิ่งถ้าผู้รับจิตใจสูงด้วยธรรมแล้วผลทานยิ่งเกิดเร็ว
คตินิยมแบบนี้จึงทำให้ผู้คนนิยมที่จะถวายทานกัน จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือเรื่องที่แปลก แต่สิ่งที่สำคัญต่อมาเมื่อมีทรัพย์แล้วนี่ บริหารทรัพย์เป็นหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่งบางคนบริหารทรัพย์ไม่เป็นก็หมด
พระพุทธเจ้าตรัสแล้วว่า เมื่อมีทรัพย์แล้ว ให้แบ่งไว้ใช้ส่วนตัวส่วนหนึ่งประมาณ 25% เอาไว้ใช้รักษาตัวยามเจ็บไข้ส่วนหนึ่งประมาณ 25% และเอาไว้ลงทุนอีกส่วนหนึ่งประมาณ 50%
หลักนี้นักคิดตะวันตกก็เอาไปคิดต่อยอดแล้วก็เขียนหลักสูตรมากมายเกี่ยวกับการบริหารเงิน ในเมืองไทยมีผู้ชำนาญเรื่องการเงินคนหนึ่ง คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ เป็นกูรูทางด้านการเงิน มีผลงานหนังสือขายดีและหนังสือเสียงด้วย กระทั่งได้รับฉายาว่า มันนี่โค้ช ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารเงินได้ดี
คุณจักรพงษ์ได้บอกว่า การลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะทำให้เงินทำงานด้วยตัวของมันเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือจะต้องเป็นผู้บริหารอยู่ในรอยของธรรม คือมีสติในการใช้ มีสติในการคิดหาเพื่อลงทุน
การเงินกับธรรมะ บางคนอาจมีความคิดว่าคนละทางกัน ทำไมมาอยู่ในรอยเดียวกันได้ คุณจักรพงษ์แนะนำว่า “การใช้จ่ายอย่างมีสติมีความรู้สึกตัว จะทำให้เรามองเห็นว่าสิ่งใดที่จำเป็น สิ่งใดที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อเรามีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ต่อไปการใช้เงินของเราจะเป็นการใช้เงินด้วยสติมากกว่ากว่าการใช้เพียงแค่มีความอยากใช้”
บางคนซื้อของซ้ำๆ ที่มีอยู่แล้ว ซ้ำมาซ้ำไป เช่น กระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่นาฬิกา เวลาใช้ก็ใช้ทีละคู่ สวมใส่นาฬิกาทีละเรือน และขับรถทีละคัน สิ่งที่เป็นแรงปรารถนาในใจของคุณจักรพงษ์ คือ ต้องการให้คนไทยมีวินัยเรื่องของการเงินแล้วจะไม่มีความทุกข์ในเรื่องของการเงินอีกต่อไป เมื่อมีทรัพย์เข้ามาก็จะทำให้มีเข้ามามากกว่าที่ใช้จ่าย เท่านี้ก็ทำให้ความทุกข์ทางด้านการเงินเราหมดไป
ชีวิตจริงจะใช้ธรรมะเรื่องพรหมวิหาร 4 ในการดำเนินชีวิต คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แต่ถ้าเมื่อใดระหว่างทางที่พบอุปสรรค มักจะนำเอาธรรมะหลักอริยสัจ 4 มาใช้ทันที เพื่อกำหนดรู้ดูต้นเหตุของความทุกข์แล้วปล่อยวางออกไป
การทำทานก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตตามแนวทางวิถีพุทธเช่นกันที่ขาดไม่ได้ นับเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมต่อไปในการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง