วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การขาดแคลนแรงงานของไทยจะรุนแรงยิ่งขึ้นไปกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก กล่าวคือตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 เป็นต้นไป

ความท้าทายจากตัวเลขผู้สูงอายุไทย

คอลัมน์ นอกรอบ
โดย ถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา “ไอเอ็มเอฟ” หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) จัดทำบทวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ของทวีปเอเชีย ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ต้อง ปรับลดลง จากเดิมอย่างมีนัยสำคัญภายใน 30 ปีข้างหน้า เพราะประชากรในวัยแรงงานลดลง ในขณะที่ประชากรวัยผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีหรือมากกว่า) อาจปรับเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่าตัว ในปี ค.ศ. 2050 จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุในขณะนี้
ปัจจุบันทวีปเอเชียมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น กล่าวคือไอเอ็มเอฟ คาดว่าจีดีพีขยายตัว 5.5% ในปี ค.ศ. 2017 และ 5.4% ในปี ค.ศ. 2018 สูงกว่าการขยายตัวของจีดีพีของโลกโดยรวม ที่ 3.5% และ 3.6% ตามลำดับ

แต่หากเอเชียไม่สามารถบริหารจัดการภาวะการแก่ตัวลงของประชากรได้อย่างมีประสิทธิผล ก็ต้องเผชิญกับปัญหา “แก่ก่อนรวย”
ไอเอ็มเอฟเน้นว่าประเทศที่ต้องเผชิญความท้าทายมากที่สุดในเอเชียในอีก 30 ปีข้างหน้า ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย เพราะเงื่อนไขดังต่อไป 1.ประชากรในวัยทำงานนั้น นอกจากจะลดลงเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของประชากรโดยรวมแล้ว ยังลดลงในเชิงของจำนวนประชากรอีกด้วย 2.สัดส่วนของประชากรที่พึ่งพาประชากรในวัยทำงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในอีกด้านหนึ่งประเทศที่ได้รับอานิสงส์ในเชิงบวก เพราะประชากรที่อยู่ในวัยทำงานจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอีก 30 ปีข้างหน้า คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ในภาพรวมนั้น ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่าประชากรของเอเชียโดยรวมจะหยุดขยายตัวในปี ค.ศ. 2050
ในส่วนของผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชียนั้น ไอเอ็มเอฟประเมินว่าใน 30 ปีข้างหน้า การแก่ตัวของประชากรจะทำให้การขยายตัวของจีดีพีของญี่ปุ่นจะลดลงประมาณ 1% ต่อปี การขยายตัวของจีดีพีของจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไทย จะลดลง 0.5-0.75% ต่อปี กำลังซื้อในประเทศจะขยายตัวช้าลง ทำให้การลงทุนในประเทศชะลอลงตามไปด้วย
ผลคืออัตราดอกเบี้ยจริงและผลตอบแทนจากการลงทุน ปรับตัวลง ซึ่งจะยิ่งลดประสิทธิภาพนโยบายการเงินลงไปอีก
สำหรับการคาดการณ์ประชากรของไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งกำลังจัดทำแผนพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปี ค.ศ. 2017-2036 จะเห็นถึงความท้าทายด้านประชากรของไทยชัดเจนยิ่งขึ้น ดังปรากฏในตาราง
จากตารางจะเห็นได้ว่า ประชากรของไทยโดยรวมยังจะเพิ่มขึ้นปีละกว่า 1 แสนคนใน 5 ปีข้างหน้า แต่จากนั้นจะขยายตัวน้อยมากและน่าจะถึงจุดสูงสุดภายใน 10 ปีข้างหน้า เป็น 66.37 ล้านคน มากกว่าปัจจุบัน (65.52 ล้านคน) อีกเพียง 850,000 คน แปลว่า กำลังซื้อในประเทศโดยรวมในอีก 10 ปีข้างหน้าคงจะขยายตัวได้ไม่มาก
หลังจากนั้นอีก 10 ปี ประชากรโดยรวมจะลดลง 1.27 ล้านคน ทำให้กำลังซื้อในประเทศยิ่งจะขยายตัวได้อย่างเชื่องช้าลงไปอีก เพราะประชากรใน 20 ปีข้างหน้าของประเทศไทย (65.10 ล้านคน) จะน้อยกว่าประชากรในปี ค.ศ. 2017 นี้ด้วยซ้ำ
จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีก 8.4 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า กล่าวคือจาก 11.4 ล้านคนในปี ค.ศ. 2017 เป็น 15.93 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นมากถึง 4.79 ล้านคนใน 10 ปีข้างหน้า แต่จะทุเลาลงในช่วงปี ค.ศ. 2026-2036 ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีก 3.6 ล้านคน จาก 15.93 ล้านคนเป็น 19.53 ล้านคน
ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องเตรียมตัวรับการแก่ตัวลงของประชากรอย่างเร่งรีบที่สุด จำนวนประชากรในวัยทำงานถึงจุดสูงสุดแล้วในปีปัจจุบัน ที่ 42.59 ล้านคน
แต่การปรับลดลงในช่วง 4 ปีข้างหน้านั้น ยังเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือลดลงเหลือ 42.31 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2021(ลดลง 280,000 คน หรือลดลง 70,000 คนต่อปี) แต่จากปี ค.ศ. 2021 เป็นต้นไป จำนวนคนในวัยทำงาน (ซึ่งเป็นวัยที่มีกำลังเสียภาษีมากที่สุดด้วย) จะลดลงอย่างรวดเร็ว จาก 42.31 ล้านคน
ในปี ค.ศ. 2021 เหลือเพียง 36.46 ล้านคนในปี ค.ศ. 2036 (แรงงานของประเทศไทยลดลงเฉลี่ย 390,000 คนต่อปี ในช่วงปี ค.ศ. 2021-2036)
ดังนั้น การขาดแคลนแรงงานของไทยจะรุนแรงยิ่งขึ้นไปกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก กล่าวคือตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 เป็นต้นไป

อีก 3 ปีสังคมไทยสูงอายุเต็มสูบ



อีก 3 ปีสังคมไทยสูงอายุเต็มสูบ โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 11 เม.ย. 2561 06:40   สสช.รณรงค์ปั๊มลูกเพิ่ม-ติงวัยทำงานใช้เงินเก่ง นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยก

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1253407อีก 3 ปีสังคมไทยสูงอายุเต็มสูบ โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 11 เม.ย. 2561 06:40   สสช.รณรงค์ปั๊มลูกเพิ่ม-ติงวัยทำงานใช้เงินเก่ง นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยก

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1253407

สังคมสูงวัยในประเทศไทย: ชี้ปัญหาความต้องการทางสุขภาพที่แท้จริงของผู้สูงอายุยากจน



สังคมสูงวัยในประเทศไทย: ชี้ปัญหาความต้องการทางสุขภาพที่แท้จริงของผู้สูงอายุยากจน

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

Image

กรุงเทพฯ 8 เมษายน 2559 –  ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย และอีกไม่นานความต้องการของผู้สูงอายุและปัญหาทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้นจะมีจำนวนเกินกว่ากำลังการให้บริการทางสุขภาพของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ยากจนในชนบท จากรายงานล่าสุดของธนาคารโลก “ปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ: ความเป็นธรรมทางสุขภาพและความครอบคลุมทางสังคมในประเทศไทย” พบว่าการขยายบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) จะช่วยเพิ่มกำลังและรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ 
“ประเทศไทยควรพิจารณาการปฏิรูปตั้งแต่ตอนนี้เพื่อเป็นตัวช่วยในการขยายความครอบคลุมของระบบประกันสังคม สุขภาพ และการดูแลระยาว รวมถึงความคุ้มครองทางการเงินสำหรับผู้สูงอายุ ไปพร้อมๆ กับการจัดการรายจ่ายสาธารณะอย่างยั่งยืน”ดร. อูริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “พวกเราทุกคนมีสมาชิกผู้สูงอายุในครอบครัวหรือมีเพื่อนสูงวัยที่ต้องการการดูแล ดังนั้นการเข้าถึงบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุและการใช้มาตรการที่จะช่วยผู้สูงอายุให้ได้รับประโยชน์จากบริการดังกล่าวโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง”

ในปี 2558 ผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนกว่าร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นถึง 17 ล้านคน ภายในปี 2583 ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อรวมกับประเทศจีนแล้วนั้น ประเทศไทยจะมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และคาดว่าจะมีสัดส่วนมากเป็นลำดับแรกของภูมิภาคภายในปี 2583

ในขณะที่ประชาชนไทยทุกคนได้รับสิทธิคุ้มครองจากหลักประกันสุขภาพตั้งแต่ปี 2545 รายงานพบว่ายังมีผู้สูงอายุอีกหลายคนประสบกับความยากลำบากในการใช้บริการทางสุขภาพเหล่านี้ เหตุผลหลักประการหนึ่งคือ พวกเขาต้องพึ่งพาผู้ดูแลและญาติพี่น้องในเวลาที่ต้องเดินทางมายังสถานพยาบาล ซึ่งเกิดขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุยากจน และผู้สูงอายุวัยปลายที่มีอายุมากกว่า 80 ปีและอาศัยอยู่ในชนบท

“หลายๆ คนเมื่อตอนอายุประมาณ 55-65 ปียังสามารถเดินทางไปยังสถานพยาบาลได้ด้วยตนเอง เมื่อแก่ตัวลงสุขภาพเริ่มอ่อนแอและมีข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปยังสถานพยาบาลได้อย่างเช่นเคย และเมื่อผู้สูงอายุจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นเพื่อพาพวกเขาไปยังสถานพยาบาล ความถี่ของการใช้บริการที่สถานพยาบาลก็ลดลงในที่สุด แนวโน้มเช่นนี้จะเห็นได้ชัดในหมู่ผู้สูงอายุยากจน โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทและกลุ่มที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับลูกหลานวัยทำงาน”ดร. สุทยุต โอสรประสพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนามนุษย์ ธนาคารโลก และผู้เขียนรายงานฉบับนี้กล่าว

รายงานพบว่า การขาดแคลนระบบขนส่งสาธารณะที่มีราคาย่อมเยาว์เป็นอุปสรรคสำคัญในการในการเข้าถึงการบริการทางสุขภาพในหมู่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้กับทางหลวงหรือถนนสายหลักที่มีรถประจำทางวิ่งผ่าน จึงจำเป็นที่จะต้องจ้างรถ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่ยากจนและดำรงชีวิตด้วยเบี้ยเลี้ยงยังชีพจากบำนาญถ้วนหน้าเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงที่สุดและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนเหล่านี้ไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการเดินทางมายังสถานพยาบาลในเวลาที่เจ็บป่วย รวมถึงค่าอาหารและค่าที่พักใกล้กับโรงพยาบาลอีกด้วย

“ผู้สูงอายุยากจนในพื้นที่ชนบทประสบกับอุปสรรคต่างๆ มากมายในการเข้าบริการทางสุขภาพ พวกเขาจำเป็นต้องจ่ายค่ายานพาหนะซึ่งมีราคาสูง เพื่อเดินทางมายังโรงพยาบาล รวมไปถึงค่าอาหารและที่พัก และยังมีอีกหลายกรณีที่ผู้สูงอายุต้องยืมเงินเพื่อมาจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพื่อให้สามารถเข้ารับบริการทางสุขภาพได้” คุณศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสเฉพาะด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าว

อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีบทบาทในการช่วยเหลือทางด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการเยี่ยมเยียนตามบ้าน และการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลหลายแห่งได้มีบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีบริการรถตู้ฉุกเฉินสำหรับชุมชนและจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ประเทศไทยเองก็สามารถสนับสนุนและขยายการดำเนินงานแนวปฏิบัติที่ดีเหล่านี้ได้ รวมไปถึงบริการเยี่ยมบ้าน โดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และมาตรการต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในการเดินทางมายังสถานพยาบาลเมื่อจำเป็น

ผู้สูงอายุไทย อันดับ 2 ในอาเซียน

ผู้สูงอายุไทย อันดับ 2 ในอาเซียน

สถานการณ์ผู้สูงอายุ, ประเทศไทย, กลุ่มอาเซียน, ไม่มีรายได้, แผนรองรับ, ผู้สูงอายุ, ไทย, อันดับ, อาเซียน, ผู้สูงอายุไทย, ในอาเซียน, คม ชัด ลึก

ตั้งแต่ ปี 2548 ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุ เนื่องจากมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10 ของประชากรสูงอายุ

       และมีการคาดประมาณว่าในปี 2564 จะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 20 และปี 2574 จะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28  โดยในปี 2558 ประชากรไทยมีจำนวน 65.1 ล้านคน เป็นประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด “คม ชัด ลึก”  จึงติดตามสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย
        ผู้สูงอายุไทยเรียนจบประถมศึกษาร้อยละ 79.3 จบมัธยมฯและสูงกว่าประมาณร้อยละ 10 และผู้ที่ไม่เคยเข้าเรียนมีร้อยละ 9.5  สภาพสมรส ร้อยละ 64.61 โสด ร้อยละ 9.2 หม้าย/หย่า/แยก ร้อยละ 30.38 หากเทียบผู้สูงอายุไทยกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน  ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยที่เข้าเกณฑ์เป็นสังคมสูงวัยแล้ว 3  ประเทศ คือ สิงคโปร์ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 18  ประเทศไทยร้อยละ 16 และเวียดนาม ร้อยละ 10 ส่วนเมียนมา มาเลเซีย ร้อยละ 9  อินโดนีเซีย บรูไน ร้อยละ 8  กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และติมอร์-เลสเต ร้อยละ 7 และลาว ร้อยละ 6  ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก คือ ญี่ปุ่น  ร้อยละ 33 %
0 รายได้ไม่เพียงพอ 0
        ในรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558 ของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) ระบุ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ โดยในปี 2557 ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 34.3 มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน คือ มีรายได้ต่ำกว่า 2,647 บาทต่อคนต่อเดือน หรือ 31,764 บาทต่อคนต่อปี มีแนวโน้มลดลง เพราะในปี 2545 ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ร้อยละ 46.5
        ทั้งนี้ แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุได้จากบุตรมากที่สุด ร้อยละ 37 การทำงาน ร้อยละ 34 เบี้ยยังชีพทางราชการ ร้อยละ 15 และเงินบำเหน็จ บำนาญร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม แหล่งรายได้หลักจากบุตรมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก ปี 2550 ร้อยละ 52 ปี 2554 ร้อยละ 40 ขณะที่รายได้จากการทำงานแนวโน้มสูงขึ้น ปี 2550 ร้อยละ 29 ปี2554 ร้อยละ 35 เมื่อแยกย่อยตามช่วงอายุ ในปี 2557 อายุ 60-64 ปียังทำงานอยู่ ร้อยละ 59  65-69 ปี ร้อยละ 46  70-74ปี ร้อยละ 25 และ มากกว่า 75 ปีร้อยละ 11
      พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมส.ผส. บอกว่า ลักษณะของงานหลัก เป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการเอง รองลงมาเป็นลูกจ้างเอกชน  ผู้ปฏิบัติงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ลูกจ้างรัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ และสมาชิก/การรวมกลุ่ม ส่วนเหตุผลที่ยังทำงานเพราะต้องการรายได้มากที่สุด ตามด้วยสุขภาพแข็งแรง/ยังมีแรงทำงาน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ช่วยครอบครัวและเป็นอาชีพประจำ ซึ่งความเพียงพอของรายได้ มีความเพียงพอ ร้อยละ 51.5 ไม่เพียงพอร้อยละ 26.7 เพียงพอบางครั้ง ร้อยละ 20.1 และเกินพอ 1.7 โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนรายได้ที่ไม่พอสูงที่สุด
ผู้สูงอายุไทย อันดับ 2 ในอาเซียน
0 อยู่ลำพังมากขึ้น 0
      ตัวเลขในปี 2557  ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียว ร้อยละ 9 แยกเป็นในเขตเทศบาล ร้อยละ 10 และนอกเขตเทศบาลร้อยละ 8 หากเทียบกับในปีก่อนหน้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ปี 2545 ร้อยละ 6 ปี 2550 ร้อยละ 8 ปี 2554 ร้อยละ 9  นอกจากนี้ มีผู้สูงอายุที่ต้องการผู้ดูแลปรนนิบัติในชีวิตประจำวันแต่ไม่มีผู้ดูแล  อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 2 70-79ปี ร้อยละ 3 และ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4  โดยกิจกรรมที่ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ชีวิตประจำวัน เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ กลั้นอุจจาระไม่ได้ ขึ้นลงบันไดเอง 1 ชั้นไม่ได้ เคลื่อนไหวภายในห้องไม่ได้ รับประทานอาหารเองไม่ได้ ลุกนั่งจากเตียงไม่ได้ ใช้ห้องน้ำเองไม่ได้ สวมเสื้อผ้าเองไม่ได้ และอาบน้ำเองไม่ได้ เป็นต้น
       และพบว่าที่อยู่อาศัย ต้องมีการปรับบ้านเดิมให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะการติดตั้งราวให้ยึดเกาะในห้องน้ำ/ห้องส้วม  ช่วยพยุงตัวและป้องกันการลื่นล้ม  ห้องน้ำให้เป็นส้วมแบบนั่งห้อยเท้า ไม่ใช่แบบส้วมนั่งยอง  ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่างของบ้านขณะที่พบว่าผู้สูงอายุมากกว่า 1 ใน 4 มีห้องนอนอยู่ชั้นบน 
       พญ.ลัดดา บอกว่า มีผู้สูงอายุที่ต้องใช้บันไดในการขึ้นลงทุกวัน และต้องเดินบนพื้นบ้านที่ลื่น โดยรวมมีถึงร้อยละ 48.8 และร้อยละ 31.7  ซึ่งผู้สูงอายุต้องละเว้นการขึ้น-ลงบันได และปรับพื้นบ้านใช้วัสดุที่ไม่ลื่น
0 ปัญหาสุขภาพ 0
      โรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม ร้อยละ 23 หลอดเลือดหัวใจตีบ กลามเนื้อหัวใจตาย ร้อยละ 5  อัมพาต ร้อยละ 2 และโรคถุงลมโป่งพอง/หลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 2 โดยการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5(พ.ศ.2557) ของสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทบ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) พบว่า ผู้สูงอายุวัยปลาย(80ปีขึ้นไป)เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าวัยกลาง(70-79ปี)และวัยต้น(60-69ปี) โดยผู้สูงอายุหญิงจะเป็นมากกว่าผู้สูงอายุชาย 
       ส่วนโรคเบาหวานส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลาง ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ในวัยปลายสัดส่วนชายและหญิงจะใกล้เคียงกัน  นอกจากนี้ ผู้สูงอายุมีภาวะอ้วน ร้อยละ 35 ผู้หญิงร้อยละ 43 ผู้ชายร้อยละ 27 รวมทั้ง มีปัญหาในการบดเคี้ยงอาหาร โดยเกินครึ่งของผู้สูงอายุวัยกลางและวัยปลายมีฟัน ไม่ครบ 20 ซี่ 
      การรับรู้ถึงสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย จะนำมาซึ่งการวางแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุในทุกมิติและทุกภาคส่วนต้องร่วมกัน เพื่อช่วยสร้างสุขให้ผู้สูงวัยไทย 
0 พวงชมพู ประเสริฐ 0

ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับประชากรสูงอายุ

ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับประชากรสูงอายุ

ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับประชากรสูงอายุ
 
ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับประชากรสูงอายุ
 
สถิติผู้สูงอายุ 2553-2583
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปรับปรุง ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2559
 
 

สถารการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย (ด้านประชากร)

สถารการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย (ด้านประชากร)

57960สถานการณ์ด้านประชากร
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากรโครงสร้างทางอายุของประชากรแสดงด้วยสัดส่วนของประชากรในวัยต่างๆ เมื่อจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) วัยแรงงาน(อายุ 15-59 ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะเห็นได้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ.2553 –พ.ศ.2583 สัดส่วนของประชากรวัยเด็ก และวัยแรงงาน มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่สัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 13.2 ในพ.ศ.2553 เป็นร้อยละ 32.1 ในพ.ศ.2583 และที่น่าสังเกต คือ ในปีพ.ศ.2560 จะเป็นปีที่คาดว่าสัดส่วนของประชากรวัยเด็กจะเท่ากันกับสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ (แผนภูมิที่ 1.1)แผนภูมิที่ 1.1 สัดส่วนประชากรวัยเด็ก วัยแรงงานและวัยสูงอายุ พ.ศ.2553 – พ.ศ.2583
[dt_gap height=”10″][dt_fancy_title title=”แผนภูมิสัดส่วนประชากรวัยเด็ก วัยแรงงานและวัยสูงอายุ พ.ศ 2553- พ.ศ 2583″ title_align=”center” title_size=”h5″ title_color=”custom” el_width=”100″ title_bg=”disabled” separator_color=”default” custom_title_color=”#db349b” separator_style=”disabled”]
[dt_gap height=”10″]
จำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุ
ตารางที่ 1.1 จากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553 – พ.ศ.2583
พบว่า สัดส่วนของประชากรสูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนกล่าวคือสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายจะเพิ่มจากประมาณร้อยละ 12.7 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดเป็นเกือบ 1 ใน 5 ของประชากรสูงอายุ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุวัยปลายนี้ จะสะท้อนถึงการสูงอายุขึ้นของประชากรสูงอายุ และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพเมื่อพิจารณาสัดส่วนเพศของประชากรสูงอายุ พบว่า ประชากรสูงอายุเพศหญิงมีสัดส่วนร้อยละ 55.1 ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 56.8 ในปี 2583 โดยเฉพาะประชากรสูงอายุวัยปลายเพศหญิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากร้อยละ 13.9 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 21.3ในปี 2583 เนื่องจากเพศหญิงจะมีอายุยืนยาวกว่าเพศชายสำหรับแนวโน้มประชากรสูงอายุไทยจะอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลหรือเขตเมืองเพิ่มขึ้นโดยในปี 2553 มีประชากรสูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจำนวน 3.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.7 เพิ่มขึ้นเป็น11.6 ล้านคน หรือร้อยละ 59.8 ในปี 2583 ทั้งนี้ เนื่องมาจากแนวโน้มการเติบโตของประชากรเมืองในประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น
[dt_gap height=”10″]
[dt_gap height=”10″]
อัตราเพิ่มของประชากรรวมเปรียบเทียบกับประชากรวัยสูงอายุ
จากข้อมูลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553–พ.ศ.2583 ชี้ให้เห็นว่า อัตราการเพิ่มของประชากรโดยรวมมีแนวโน้มลดลงจนติดลบ โดยเริ่มติดลบในช่วงระหว่าง
ปีพ.ศ.2568 – พ.ศ.2573 เป็นต้นไป ในขณะที่อัตราการเพิ่มของประชากรสูงอายุแม้ว่าจะมี
แนวโน้มลดลง แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราการเพิ่มประชากรรวมค่อนข้างมาก อันเป็นผลมาจากอัตราเจริญพันธุ์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว (แผนภูมิที่ 1.2)
[dt_gap height=”10″]
กระทรวงการคลัง - ค้นหามติคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี https://resolution.soc.go.th › PDF_UPLOAD › 2561 PDF ดำเนินโครงการบ้านประชารัฐ และโครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ ซึ่งเป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล ... หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของทั้ง ๒ โครงการ โดยให้กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ... 6 pages Missing: ซี ‎เนี่ ‎ย ‎ร์ ‎คอมเพล็กซ์
พณฯ ท่าน รมต.ช่วยกระทรวงมหาดไทย ท่านชาดา ไทยเศรษฐ์ มาเป็นประธานการจัดงาน และสักขีพยาน ครั้งนี้ และร่วมชมกิจกรรมที่จัดชึ้นมากมายในโครงการ แสดงสินค้าด้านอุตส่าหกรรมตกแต่งบ้าน อย่างมากมาย
Sign the mou support business cooperation. TSP smart city group concept Smart City is a city that uses technology and innovation to provide people with a quality of life and sustainable happiness. Thailand is pushing Smart City to realize the National Economic Development Plan. Currently, the private sector supports the policy of housing development with special features. It is a Smart City Full-time project in response to the government's policy to invest in housing development that is effective for Thai elderly businesses in the region of EEC
Sign the mou support business cooperation. We will join hands and walk together. First, change the product and concept to support each other forever. TSP smart city group Sign the mou support business cooperation. concept Smart City is a city that uses technology and innovation to provide โครงการ บ้านคนไทย นโยบายบ้านประชารัฐและ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ประชารัฐ ภาคเอกชน มัตติ ครม. กระทรวงการคลัง ปี 2561 อนุมัติให้ สถาบันการเงินสนับสนุน สินเชื่อ โครงการและ รายย่อยเพื่อบริการประชาชน (d-house-holding-group.blogspot.com)